บทที่ 1







ความสำคัญและความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            เทคโนโลยีที่ใช้กันในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนและเติบโตไปอย่างรวดเร็วมาก เครือข่ายการสื่อสารต่าง ๆ มีการพัฒนาให้เชื่อมต่อที่เร็วขึ้น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และระบบทำได้ง่ายขึ้น ดังจะเห็นได้จากการนำเอาประโยชน์ของเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้กันอย่างมากมาย ทั้งในเรื่องของธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน และโดยพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องอื่นเกี่ยวกับวิถีความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันหรือที่เรียกว่ายุคแห่งพลังสารสนเทศ ดังนั้น ถ้ามองถึงลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้ประเทศเกิดการพัฒนา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2551) ได้สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ไว้ดังนี้
            1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เละเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เช่น การถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ซึ่งทำให้ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
            2. เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย เช่น การสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้านสามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้าน เป็นต้น
            3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเห็นได้ว่าทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบ มีการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์กร เช่น ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบเวชทะเบียน
            4. เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังจะเห็นได้จากการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และอุปกรณ์การสื่อสารคมนาคม
            จากความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศดังข้างต้น ที่กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ นั้น เช่นเดียวกันนี้ ธีระ กุลสวัสดิ์ (2553, หน้า 10-13) ก็ได้กล่าวถึง ความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การไว้หลายประการ ดังนี้
            1. แรงผลักดันทางด้านธุรกิจ (business pressuresป็นแรงผลักดันที่เกิดขึ้นในองค์การ ซึ่งเกิดจาการปฏิบัติงานขององค์การ ในที่นี้ ธุรกิจ” ครอบคลุมองค์การทางธุรกิจ องค์การสาธารณะ และองค์การรัฐบาล ที่ปัจจุบันนำแนวคิดทางด้านธุรกิจมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ การที่องค์การใดจะประสบความสำเร็จในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง องค์การใดจะประสบความสำเร็จในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง องค์การนั้นไม่จำเป็นต้องมุ่งที่จะลดค่าใช้จ่าย แต่ควรจะสร้างสิ่งใหม่ เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หรือเปลี่ยนการทำงาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดได้เนื่องจากการเกิดวิกฤติทางผลตอบกลับ (critical response activities) ที่อาจจะเกิดกับบางกระบวนการหรือทุกกระบวนการการทำงานขององค์การ ผลตอบกลับนั้นจะกลายเป็นแรงผลักดันให้การดำเนินงานขององค์การดำรงอยู่ได้ หรืออาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการป้องกันองค์การจากแรงต่อต้านที่จะเกิดในอนาคตได้  
             2. แรงผลักดันทางการตลาด (market pressure) มาจากการแข่งขันระดับโลก การเปลี่ยนแปลงของแรงงาน และอำนาจของผู้บริโภค ดังนี้
                 2.1 การแข่งขันระดับโลก (global competitive) สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน สามารถรับรู้ได้ทันท่วงทีและง่ายขึ้นด้วยการสื่อสารโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มประเทศของนาฟตา การเกิดสกุลยูโรของกลุ่มการค้ายุโรป หรือการสร้างกำแพงการค้าของบางประเทศ อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ การย้ายแหล่งลงทุนเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับลูกจ้างแรงงาน ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ศีลธรรม และกฎหมาย แต่ความทันสมัยของเทคโนโลยีทำให้สิ่งเหล่านี้ลดน้อยลงได้ ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดโลกเข้มข้นขึ้นเมื่อรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้เงินอุดหนุน นโยบายภาษี การส่งเสริมและการควบคุมการนำเข้าส่งออก เป็นต้น ในอนาคตการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มขยายเพิ่มขึ้นเพราะการสื่อสารและการขนส่งที่รวดเร็วและประหยัดมากขึ้น
                 2.2 การเปลี่ยนแปลงของแรงงาน (changing workforceแรงงานในประเทศกำลังพัฒนาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลาย นั่นคือ การเพิ่มของแรงงานหญิง คนโสด ชนกลุ่มน้อย และผู้ไร้ศักยภาพในการทำงาน ซึ่งเทคโนโลยีทำให้การทำงานง่ายขึ้น
                  2.3 อำนาจของผู้บริโภค (powerful consumerผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับคุณภาพสินค้าและบริการที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้จากเวบไซด์ พร้อมทั้งสามารถเปรียบเทียบราคา และซื้อด้วยการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย ปัจจุบันผู้บริโภคสามารถกำหนดคุณภาพของสินค้าหรือบริการที่ต้องการได้ด้วยตนเอง ซึ่งแนวคิดนี้ได้นำมาใช้ในการจัดการภาครัฐเช่นกัน
             3. แรงผลักดันทางด้านเทคโนโลยี (technology pressure) มาจากการเกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และสภาวะสารสนเทศเกินความต้องการ ดังนี้
                 3.1 การเกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการทดแทนสิ่งที่ล้าสมัย (innovation and obsolescence) เทคโนโลยีทำให้เกิดกฎการผลิตสินค้าและบริการ การที่หน่วยงานหนึ่งนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการ ส่งผลให้หน่วยงานประเภทเดียวกันต้องปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ด้วยเช่นกัน ปัจจุบันวงจรชีวิตของสินค้าและบริการสั้นขึ้นกว่าเมื่อก่อน คือ สินค้าใหม่ในวันนี้อาจกลายเป็นสินค้าล้าสมัยได้ในวันพรุ่งนี้ เทคโนโลยีทำให้การแข่งขันมีเพิ่มมากขึ้น
               3.2 สภาวะสารสนเทศเกินความต้องการ (information overload) ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโทรคมนาคมอื่น ๆ มีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกปี รวมถึงข้อมูลความรู้และภูมิปัญญาขององค์การที่เพิ่มขึ้นอย่างคงที่ ดังนั้นการจัดการเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูล การสืบค้น และการจัดการข้อมูลสารสนเทศและภูมิปัญญาขององค์การ เป็นความจำเป็นในการจัดการเพื่อช่วยการตัดสินใจ
            3.3 แรงผลักดันทางสังคม (societal pressures) ประกอบด้วยความรับผิดชอบทางสังคม กฎข้อบังคับของภาครัฐ กฎข้อบังคับของภาครัฐที่ยกเลิก และศีลธรรม จริยธรรม ทางธุรกิจ
            3.4 ความรับผิดชอบทางสังคม (social responsibility) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสังคม ตัวอย่างเช่น การบริจาคเงินสนับสนุนการศึกษา หรือการทุ่มเวลาและค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาสังคม เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การสร้างความเท่าเทียมกันทางสังคม ปัญหาการจ้างงาน ปัญหาสุขภาพของลูกจ้าง ปัญหาการศึกษาของลูกจ้าง ความรับผิดชอบทางการค้า และศีลธรรม
            3.5 กฎบังคับของภาครัฐ (government regulation) กฎระเบียบที่ภาครัฐให้องค์การต้องปฏิบัติ เช่นสวัสดิการด้านสุขภาพของลูกจ้าง การควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างความเท่าเทียมกันทางสังคม
            3.6 กฎข้อบังคับของภาครัฐที่ยกเลิก (deregulation) กฎระเบียบที่ภาครัฐยกเลิกเพื่อคุ้มครองบางบริษัท ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแข่งขันเข้มข้นขึ้นได้
            3.7 จริยธรรม (ethics) จริยธรรมทางธุรกิจ คือ ความถูกต้องในการดำเนินธุรกิจ เป็นสิ่งสำคัญมาในการดำเนินการแบบองค์การทางดิจิตอล
การดำเนินงานภายใต้แรงกดดันดังกล่าวข้างต้น ทำให้องค์กรต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐ เช่น การนำระบบอีดีไอ (electronic data interchange) หรือ EDI มาใช้ในงานของกรมศุลกากร เพื่อให้บริการที่รวดเร็วขึ้น การพัฒนาระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ ระบบการเสียภาษีออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นการเพิ่มช่องทางในการยื่นแบบภาษีและชำระภาษี การนำระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (one stop service) ของสำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ระบบการกำกับติดตามประเมินผลแผนงานโครงการของกระทรวงแรงงาน เพื่อเป็นศูนย์กลางของรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือการเปลี่ยนแปลงของภาคเอกชน เช่น การนำเอาตู้เอทีเอ็ม ตู้เอดีเอ็ม รวมทั้งตู้ปรับยอดสมุดบัญชีมาให้บริการลูกค้าแทนการใช้บริการจากเจ้าหน้าที่ ระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งระบบอีคอมเมิร์ช (e-commerce) เพื่อให้บริการลูกค้าได้ 24 ชั่วโมง และลดระยะเวลาการเดินทาง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างจุดแข็งให้เหนือกว่าหรือเทียบเท่ากับคู่แข่งขัน เพื่อช่วงชิงการเป็นผู้นำในการดำเนินงานขององค์การในกลุ่มประเภทเดียวกัน ซึ่งธีระ กุลสวัสดิ์ (2553, หน้า 13) ได้สรุปแนวทางการตอบโต้แรงผลักดันขององค์การมี วิธี ดังนี้
            1. การสร้างระบบงานเชิงกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อความเป็นผู้นำทางด้านสินค้า หรือบริการ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด หรือสร้างแนวป้องกันคู่แข่งทางธุรกิจ
            2. พยายามปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง หลายองค์การพยายามปรับปรุงการผลิต คุณภาพสินค้าและการบริการ ตามเป้าหมาย ข้อ ได้แก่ (1) เพิ่มปริมาณสินค้า ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน (2) เสร็จตามเวลา (just in time) (3) ควบคุมคุณภาพให้สูงขึ้น (4) สร้างภูมิปัญญาขององค์การ (5) การบริหารจัดการข้อมูลที่ดี (6) การสร้างนวัตกรรมใหม่ (7) การเปลี่ยนแปลงบริหารองค์การ และ (8) พัฒนาการบริการลูกค้า
            3. การปรับกระบวนการทางธุรกิจ การปรับระบบโครงสร้างและแนวทางการดำเนินงานขององค์การใหม่ เทคโนโลยี บุคลากร และองค์การจะถูกเปลี่ยนด้วยการปรับกระบวนการ ดังนี้ (1) การลดเวลาการผลิตและเร่งออกสู่ตลาด หรือการลดเวลาในการให้บริการ (2) การให้อำนาจการตัดสินใจแก่ผู้บริหารระดับล่าง ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนระบบการตัดสินใจแบบกระจาย ให้มีการทำงานคล้ายกับระบบการตัดสินใจในแบบรวมศูนย์ (3) สร้างระบบลูกค้าสัมพันธ์ ด้วยการปรับเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าจำนวนตามชนิดที่ต้องการผลิต มาเป็นการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า และ (4) สร้างทีมงานในการทำงาน สืบเนื่องจากการปรับกระบวนการทางธุรกิจให้แต่ละทีมรับผิดชอบกระบวนการทางธุรกิจที่แตกต่างกัน เรียกว่า เครือข่ายองค์การ (networked organization)
            4. การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ พันธมิตรธุรกิจ คือ บริษัทหรือองค์การต่าง ๆ ที่สามารถทำธุรกิจหรือดำเนินกิจกรรมร่วมกันได้ รวมถึงคู่แข่งขัน เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น General Motor & Ford เป็นต้น ลักษณะพันธมิตรธุรกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ Temporary Joint Venture เป็นรูปแบบบริษัทที่ทำธุรกิจลักษณะพิเศษ และมีกำหนดเวลาในการร่วมทำธุรกิจ
            5. การทำธุรกิจอิเล็กโทรนิกส์ เพื่อเพิ่มช่องทางในการให้บริการ หรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ นอกเหนือจากการให้บริการในสถานที่จริง เพื่ออำนวยความสะดวกกับลูกค้าหรือผู้รับบริการ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            พัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก เช่น การจัดการความรู้ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์มากมายต่อการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้พัฒนางานที่ตนเองทำ ซึ่งอาศัยกระบวนการการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในทีมงาน ก่อให้เกิด "การเรียนรู้ร่วมกันในทีม (team learn)” แล้วก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่สามารถผลิต นวัตกรรม” และก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันและพัฒนาไปสู่องค์กรสมรรถนะสูงในที่สุด ปัจจัยที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวคือ “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (information technology; IT) หรือ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”  (information and communication technology; ICT) ที่รวมเอาเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาด้วย ทั้งนี้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น เกิดขึ้นในทุก ๆ วงการไม่ว่าจะเป็นการค้า การผลิต อุตสาหกรรม การบริการ การแพทย์ สาธารณสุข การศึกษา คมนาคม การทหาร สิ่งแวดล้อม การวิจัยและการพัฒนา และในสาขาอื่น ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวเข้าสู่ยุค ระบบเศรษฐกิจใหม่ (new economy) หรืออาจจะเรียกว่ายุค digital economy”ปัจจุบันหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชนต่างนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา การแข่งขัน และการขับเคลื่อนองค์กร โดยมีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (internet) ซึ่งในระดับบุคคลก็นำมาใช้ในการค้นคว้าหาความรู้ จัดเก็บความรู้ และสามารถนำความรู้ออกมาใช้ และแลกเปลี่ยนความรู้ได้ตลอดเวลา ซึ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในที่สุด และจากการค้นคว้าข้อมูล จึงได้ทราบความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) หรือ IT นั้น เป็นคำศัพท์ที่มีผู้ให้คำนิยามและอธิบายไว้หลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นนักปราชญ์ นักวิชาการ รวมถึงนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ให้ความหมายที่สำคัญและน่าสนใจไว้ ดังนี้
            วศิน เพิ่มทรัพย์ (2548, หน้า 198ระบุว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อีกได้ ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการสารสนเทศต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร และโทรคมนาคม เป็นต้น
สุขุม เฉลยทรัพย์ (2548, หน้า 9ระบุว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีสองสาขาหลักที่ประกอบด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ หรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้มันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
            ไพรัช ธัชพงษ์ (2553) อธิบายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการติดต่อเชื่อมโยง การจัดหา การจัดเก็บ จัดการ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร หรือเรียกว่า สารสนเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์ในรูปของสื่อต่าง ๆ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะประกอบด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลข่าวสารมาใช้
            ธีระ กุลสวัสดิ์ (2553, หน้า 6) สรุปว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้ามาร่วมกันในกระบวนการจัดเก็บ สร้าง และสื่อสารสนเทศ ดังนั้น จึงครอบคลุมเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจดบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล ค้นคืน รับส่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการข้างต้น เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล บันทึกและค้นคืน เครือข่ายสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมรวมทั้งขั้นตอนการทำงาน เป็นต้น    

            จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีแกนหลักสองสาขา ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม กระบวนการดำเนินงานจัดการสารสนเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ ความรวดเร็ว ทันต่อการนำไปใช้ ประโยชน์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะช่วยทำงานด้านการจัดเก็บ บันทึกและประมวลผลข้อมูลให้รวดเร็วและถูกต้อง ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น