บทที่ 3

 

บทที่ 3   เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย


บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญอย่างต่อเนื่องทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่ายเกิดการแพร่กระจายของความรู้ที่ผ่านการประมวลผล เพื่อแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ของสารสนเทศร่วมกันได้มากขึ้น ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้แค่ปลายนิ้วสัมผัส การติดต่อสื่อสารทำได้แบบไร้พรมแดน ซึ่ง พรรณี สวนเพลง (2552, หน้า 103-110) กล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย ก็ได้มีพัฒนาและจัดตั้งหน่วยงานเพื่อกำหนดนโยบายและแผนแม่บทมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ดังนี้
1. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเทศไทย
            ตามคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2544 ในวันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2544 เห็นชอบต่อกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างปี พ.ศ.2544-2553 ของประเทศไทย (IT 2010 policy framework) และมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย โครงการจัดทำแผนแม่บทฯ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2544
              นอกจากเนคเทคและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้วยังมีตัวแทนจากภาคเอกชนเข้าร่วมในการวางแนวทางการจัดทำแผนแม่บทดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อวางแผนแม่บทอันเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศในประเทศไทยในระยะ 
ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2545 – 2549) และปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติฉบับที่ โดยสอดคล้องกับกรอบแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 10 รวมทั้งเป็นแผนแม่บทที่สามารถใช้เป็นแนวทางการวางแผนงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหน่วยงานราชการและเพื่อให้มีความเหมาะสมกับแนวทางการพัฒนาภาคเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งและพร้อมต่อการแข่งขันในเศรษฐกิจโลกต่อไป (แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศะการสื่อสารสำหรับประเทศไทย 2550)

2. กรอบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2554-2563
            กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ พ.ศ.2544-2553 ของประเทศไทย หรือ IT2010 ได้ถูกใช้เป็นเข็มทิศชี้นำการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 มาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ภายใต้การดำเนินยุทธศาสตร์ 5e’s ที่เน้นการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสารสนเทศในสาขายุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน ได้แก่ e-Government, e-Industry, e-Commerce, e-Education และ e-Society เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยและนำพาประเทศเข้าสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (knowledge-based economy and society)
            กรอบนโยบาย IT2010 เป็นแนวนโยบายระยะยาวในระดับมหภาค ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้จัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นระยะเวลา 5 ปี ขึ้นในช่วงระยะเวลาของกรอบนโยบาย อันได้แก่ แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 เพื่อกำหนดแผนงานมาตรการที่มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น กรอบนโยบาย IT2010 ได้กำหนดเป้าหมายสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ (1) เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ โดยยกระดับสถานภาพของประเทศในค่าดัชนีผลสัมฤทธิ์ทางเทคโนโลยี (Technology Achievement  Index : TAI Value) จากประเทศในกลุ่มผู้ตามที่มีพลวัต (dynamic adopters) ไปสู่ประเทศในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพเป็นผู้นำ (potential leaders) (2) พัฒนาแรงงานความรู้ (knowledge workers) ของประเทศไทย ให้มีสัดส่วนแรงงานความรู้ของไทย ณ ปี พ.ศ.2553 ที่ร้อยละ 30 ของแรงงานทั้งหมด และ (3) พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้มุ่งสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้ (knowledge-base industry) โดยกำหนดไว้ว่า ภายในปี พ.ศ.2553 สัดส่วนของมูลค่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้เป็นพื้นฐานมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ของ GDP เพื่อสร้างความต่อเนื่องทางนโยบาย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้พัฒนากรอบนโยบาย ICT 2020 ขึ้น เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของประเทศไทยในระยะ 10 ปี ต่อจากนี้ (พ.ศ.2554-2563โดยในการจัดทำกรอบนโยบาย ICT2020 คณะผู้จัดทำได้นำแนวคิดของ กรอบนโยบายฉบับเดิม และสถานภาพการพัฒนา ICT ในปัจจุบันข้อเท็จจริงและข้อจำกัดที่ผู้มีส่วนในการพัฒนาและขับเคลื่อน ICT ทุกคนในประเทศต้องตระหนัก มาเป็นส่วนประกอบสำคัญประการหนึ่งในการพิจารณาจัดทำกรอบนโยบายฉบับใหม่ ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์บริบท ทิศทางการพัฒนาโดยรวมของประเทศ และความท้าทายในด้านต่าง ๆ ที่ประเทศจะต้องเผชิญในระยะ 10 ปีของกรอบนโยบาย เพื่อจะได้คาดการณ์ถึงความต้องการและบทบาทของ ICT ในอนาคตนอกจากนี้การจัดทำกรอบนโยบายยังได้คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นภายในกรอบระยะเวลา 10 ปี เพื่อที่จะทำการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนั้น ที่จะเกิดต่อปัจเจกชน และภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศ
            การจัดทำสาระสำคัญของกรอบนโยบายฉบับนี้ ได้ตั้งอยู่บนหลักการสำคัญดังต่อไปนี้ (1) ใช้แนวคิดกระแสหลลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ต้องคำนึงถึงการพัฒนาอย่างสมดุลใน 3 มิติ คือ มิติสังคม มิติเศรษฐกิจ และมิติสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาในเชิงปริมาณ คุณภาพ และความเป็นธรรมในสังคมควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ (2) ให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จาก ICT ในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสให้กับประชาชนในการรับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน (3) ใช้แนวคิดในการพัฒนาที่ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทศก้าวทันต่อโลกยุคปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงความพอเพียงหรือพอประมาณกับศักยภาพของประเทศ ความมีเหตุผล และความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันที่ดีเพื่อรองรับผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก (4) ความเชื่อมโยงและต่อเนื่องทางนโยบายและยุทธศาสตร์กับกรอบนโยบาย IT2010 และแผนแม่บทฯที่มีมาก่อนหน้านี้ เพื่อให้เกิดแรงผลักดันอย่างจริงจัง และ (5) สมมุติฐานคืองบประมาณของรัฐเพียงอย่างเดียวจะไม่มีเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการทั้งหมดได้ ดังนั้น รัฐควรสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนา ICT เพิ่มมากขึ้น
            ภาพอนาคตด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยสู่ปี พ.ศ.2563 และนัยสำคัญต่อทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
            1.การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค มีการคาดการณ์ว่าอีกทศวรรษจากนี้ไป ประเทศในภูมิภาคเอเชียจะเป็นขั้วอำนาจใหม่ทางเศรษฐกิจโลก ประเทศจีนและอินเดียจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมและบริการแบบเดิมในอนาคต ในขณะที่ภูมิภาคอาเซียนก็จะเกิดการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ภายในปี 2558 เมื่อผนวกเข้ากับส่วนต่อขยายของความตกลงในอนาคต ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก การรวมตัวของอาเซียนมีผลต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในหลากหลายลักษณะ โดยจะทำให้มีการเคลื่อนย้าย (mobility) เกิดขึ้นในลักษณะต่าง ๆ อันรวมถึงดารเคลื่อนย้ายของแรงงานธุรกิจ อุตสาหกรรม การลงทุน การศึกษา ภาษา วัฒนธรรม ตลอดจนข่าวสารข้อมูลและความรู้ ทำให้เกิดมาตรฐานอาเซียนในสาขา (sector) ต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในการรวมตัวของกลุ่มสหภาพยุโรป รวมถึงในอุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จะเกิดทั้งความร่วมมือและการแข่งขัน
            2.ความเปลี่ยนแปลงด้านประชากรของประเทศ การที่ประชากรวัยเด็กได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สัดส่วนประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประชากรวัยแรงงานจะมีสัดส่วนลดลง ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมการเชิงนโยบายเพื่อปรับตัวในระดับโครงสร้างเชิงยุทธศาสตร์อย่างเร่งด่วนหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปการศึกษาเพื่อทำให้ประชากรวัยเรียนและวัยแรงงานมีความสามารถทัดเทียมอารยะประเทศและการสร้างกรอบการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อรองรับความต้องการของวัยสูงอายุ และการสร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ทำงาน และการลงทุนเพื่อยกระดับผลิตภาพ (productivity) ของวัยแรงงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการบริหารจัดการโครงสร้างสังคมอันใหม่อันเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงของประชากรไทย เช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อยกระดับผลิตภาพของแรงงานและธุรกิจอุตสาหกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา หรือสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มาจากประชากรกลุ่มสูงอายุหรือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนวิทยาการทางการแพทย์เพื่อชีวิตที่ยืนยาว (longevity medicine) เป็นต้น
            4.การกระจายอำนาจการปกครอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น โดยเน้นการส่งเสริมธรรมภิบาลในระดับท้องถิ่น การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้อำนาจแก่องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจการจัดการบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ รวมถึงพัฒนาระบบตรวจสอบและประเมินผล และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามความเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะทวีบทบาทในการเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการทำงานของรัฐให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการให้ข้อมูลแก่ประชาชนที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย รวมทั้งมีช่องทางให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของรัฐบาล และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเด็นต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบทั้งเชิงบวก และลบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ตามแนวทางประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และจะเป็นศูนย์กลางในการรวมตัวแบบไร้ขอบเขตและพรมแดน ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการเพิ่มความเข้มแข็ง ให้กับปัจเจกชน ชุมชน และท้องถิ่น ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government จะเป็นกลไกหลักในการพัฒนาประเทศสู่สังคมสารสนเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิรูประบบราชการ ให้มีความทันสมัย มีความคล่องตัว และมีประสิทธิผลในการบริหารราชการแผ่นดิน
            5. ภาวะการมีงานทำและตลาดแรงงานในอนาคต เศรษฐกิจไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่ขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรมาจนถึงปัจจุบันซึ่งภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมกลับมีขนาดใหญ่กว่า โดยภาคบริการมีขนาดร้อยละ 51.8 ของมูลค่ารวมมวลรวมประชาชาติ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากแรงงานทั้งหมด อาจกล่าวได้ว่า สังคมไทยยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม เนื่องจากเรามีเกษตรกรเป็นจำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 48.53 ของแรงงานทั้งหมด ทั้งนี้ในแง่การบริหารแรงงาน และทรัพยากรมนุษย์ สังคมไทยมีความท้าทายในอนาคตหลายมิติด้วยกัน ทั้งความจำเป็นที่จะต้องยกระดับผลิตภาพของภาคการเกษตรทั้งระบบ และการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมบริการทั้งในภาคธุรกิจบริการที่ไทยมีความสามารถและศักยภาพในภาคบริการสูง และในสาขาอื่น ๆ ที่เริ่มมีความสามารถในการแข่งขันและเป็นธุรกิจที่คนไทยใช้ความสามารถ ความสร้างสรรค์ ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ไทย ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมหลายประเภทมีแนวโน้มจะเติบโตต่อไป และมีอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่เรียกว่า อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (creative industry) เกิดขึ้น องค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาอาชีพและอุตสาหกรรมต่าง ๆ นอกจากเทคโนโลยีแล้ว ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญ เยาวชนในยุค post-modern หรือ post-industrialization มีความจำเป็นปัจเจกในการทำงานมีมากขึ้น แม้กระทั่งการทำงานที่ใช้ทักษะความรู้ต่างศาสตร์เชิงบูรณาการก็จะมีมากขึ้นเช่นเดียวกัน หากเป็นเช่นนี้ นัยสำคัญที่ตามมาคือจะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเข้มข้นและกว้างขวาง การศึกษาในอนาคตจะต้องเปลี่ยนรูปแบบและการจัดการ เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของการทำงานและแรงงานในอนาคตได้ และเป็นสภาพแวดล้อมที่มีความมั่นคงในอาชีพใดอาชีพหนึ่งน้อยกว่าปัจจุบัน


            6. การปฏิรูปการศึกษารอบที่สอง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สะท้อนเจตจำนงของวงการศึกษาไทยที่ต้องการจะปฏิรูประบบการศึกษา โดยยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิต การมีส่วนร่วมของสังคมในการจัดการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ โดยในสาระสำคัญ มีการกล่าวถึงมาตรฐานคุณภาพมากขึ้น การยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การยอมรับบทบาทของการจัดการศึกษาเอกชน รวมถึงการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง คือการกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ผลการประเมินต่าง ๆ ยังชี้ให้เห็นถึงความอ่อนแอของการศึกษาไทย จุดอ่อนและปัญหาที่พบจากการปฏิรูปการศึกษาครั้งก่อนได้ถูกนำมาเป็นโจทย์สำหรับการปฏิรูปการศึกษารอบที่สอง (พ.ศ. 2552-2561ภายใต้วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า “คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” โดยแนวทางการพัฒนาที่เรียกว่า สี่ใหม่ ซึ่งประกอบด้วย (1) คุณภาพคนไทยยุคใหม่ เด็กไทยและคนไทยในอนาคต (2) การพัฒนาครูยุคใหม่ (3) การพัฒนาสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และ (4) การพัฒนาการบริหารจัดการยุคใหม่ ที่มุ่งเน้นเรื่องการกระจายอำนาจ เพื่อที่ให้การบริหารสถานศึกษามีความคล่องตัวและเป็นอิสระมากที่สุดควบคู่ไปกับเน้นธรรมาภิบาล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะต้องมีบทบาทในการปฏิรูปการศึกษารอบที่สองนี้ในหลายลักษณะ รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษาและครอบครัว การจัดทำเนื้อหาสาระทางวิชาการทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา การเพิ่มพูนขีดความสามารถให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถบริหารขจัดการการศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือฝึกทักษะในการผลิตช่างอาชีวะที่มีคุณภาพสูง การเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนและการวิจัย การศึกษาในระบบออนไลน์ การจัดการศึกษาทางไกลสำหรับผู้ด้อยโอกาสและการจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้พิการด้านต่าง ๆ และการให้ความรู้ตลอดทักษะที่สร้างเยาวชนให้เป็นคนดีของชาติ โดยมีปัญญา คุณธรรมและจริยธรรมละเว้นจากการประพฤติชั่วต่าง ๆ
            7. ค่านิยมและความขัดแย้งในสังคม ความไม่สมดุลทั้งในเชิงโครงสร้างทางสังคม เช่น ความเหลื่อมล้ำในการกระจายทรัพยากรและมั่งคั่ง การกระจายโอกาสในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของรัฐที่ยังไม่ทั่วถึง และปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติของรัฐที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจและสะสมมาเป็นเวลานาน หากไม่มีการจัดการแก้ไขที่ดีพอจะมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่ความยุ่งยาก ซับซ้อน และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประกอบกับกระแสของโลกาภิวัฒน์ และความรวดเร็วของการติดต่อสื่อสาร ได้เอื้อต่อการเคลื่อนไหลของวัฒนธรรมที่แตกต่างอย่างไร้พรมแดน ก่อให้เกิดการผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งส่งผลทั้งในเชิงบวกและเชิงลบต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับค่านิยม ระบบคุณค่าในสังคม รวมถึงพฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนไทยยุคใหม่ที่แตกต่างไปจากค่านิยมเดิม หากพิจารณาปรากฏการณ์ดังกล่าวจากมุมมองของเทคโนโลยีและนวัตกรรม พบว่า ICT มีบทบาททั้งที่เอื้อต่อการสร้างค่านิยมที่ดี การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และการสร้างสังคมสมานฉันท์ที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขบนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ชาติพันธุ์ และความเชื่อ แต่ในขณะเดียวกัน ICT ก็สามารถสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งได้เช่นกัน
            วิสัยทัศน์ เป้าหมายของกรอบนโยบาย ICT 2020
            ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563 จะมีการพัฒนาอย่างฉลาด การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมจะอยู่บนพื้นฐานของความรู้และปัญญา โดยให้โอกาสแก่ประชาชนทุกคนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาอย่างเสมอภาค นำไปสู่การเติบโตอย่างสมดุล และยั่งยืน ดังวิสัยทัศน์ (smart Thailand 2020) ที่ระบุว่า “ICT เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการนำพาคนไทย สู่ความรู้และปัญญา เศรษฐกิจไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน สังคมไทยสู่ความเสมอภาค” โดยมีเป้าหมายหลักของการพัฒนา ดังนี้ (1) มีโครงสร้างพื้นฐาน ICT ความเร็วสูง (broadband) ที่กระจายอย่างทั่วถึง ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน เสมือนการเข้าถึงบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทั่วไป โดยร้อยละ 80 ของประชากรทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงโครงข่ายโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายในปี พ.ศ. 2558 และ ร้อยละ 95 ภายในปี พ.ศ.2563 (2) มีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ในปริมาณที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจฐานบริการและฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีความรอบรู้ เข้าถึง สามารถพัฒนาและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างรู้เท่าทัน และเพิ่มการจ้างงานบุคลากร ICT (ICT professional) เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ของการจ้างงานทั้งหมด (3) เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรม ICT (โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์) ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICT (รวมอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์) ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 18 (4) ยกระดับความพร้อมด้าน ICT โดยรวมของประเทศ โดยให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาสูงที่สุดร้อยละ 25 (top quartile) ของ networked readiness index (    5) เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม) โดยเกิดการจ้างแบบใหม่ ๆ ที่เป็นการทำงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ (6) ทุกภาคส่วนในสังคมมีความตระหนักถึงความสำคัญและบทบาท ICT ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาโดยประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของ ICT ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
            ยุทธศาสตร์การพัฒนา กรอบนโยบาย ICT2020 ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา 7 ยุทธศาสตร์ ดังแผนภาพที่ปรากฏ และรายละเอียด ดังนี้
            ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT ที่เป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือการสื่อสารรูปแบบอื่นที่เป็น broadband ให้มีความทันสมัย มีการกระจาย อย่างทั่วถึง และมีความมั่นคงปลอดภัยสามารถรองรับความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ ได้
ยุทธศาสตร์นี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ ภายในปี พ.ศ. 2563 บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยจะเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่ประชาชนทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้มีคุฯภาพ และความมั่นคงปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยมีกลยุทธ์และมาตรการ ดังนี้
            1.1 ผลักดันให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายใช้สายและไร้สายความเร็วสูง เพื่อขยายโครงข่าย ICT/บรอดแบนด์ ให้ครอบคลุมทั่วถึง สำหรับประชาชนทุกกลุ่มทั่วประเทศ โดยในการดำเนินการต้องมีการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม การจัดตั้งคณะกรรมการบรอดแบนด์แห่งชาติ (national broadband task force) โดยให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดทำนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ การส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวกันของภาคเอกชนในการจัดบริการสำหรับใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการให้บริการโทรคมนาคมส่วนปลายทาง (last mile access) ทั้งแบบใช้สายและไร้สายพร้อมทั้งผลักดันการลงทุนโครงข่ายระบบไร้สายความเร็วสูง และเร่งพัฒนาบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือความเร็วสูงมาก (ultra broadband)
1.2 กระตุ้นการมีการใช้และการบริโภค ICT อย่างครบวงจร โดยสร้างระบบนิเวศน์ดิจิทัล (digital ecosystem) ซึ่งคำนึงถึงการออกแบบและใช้ระบบ โปรแกรม อุปกรณ์ ที่เป็นสากล (universal design) เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงของประชาชนทุกกลุ่ม และกระตุ้นตลาดภาครัฐการบริโภคจากภาคเอกชนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วยมาตรการในการสร้างความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของบรอดแบนด์และรูปแบบธุรกรรมหรือธุรกิจใหม่ ๆ และสร้างแรงจูงใจให้แก่ธุรกิจในการใช้บริการบรอดแบนด์ ทั้งการให้ความช่วยเหลิทางการเงินหรือให้แรงจูงใจสำหรับการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ICT การคุ้มครอง และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคพร้อมทั้งผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ออกข้อกำหนดให้ควบรวมวงจรสื่อสารความเร็วสูงเป็นหนึ่งในข้อกำหนดในการก่อสร้างอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัยใหม่
1.3 สนับสนุนการเข้าถึงบอรดแบนด์ในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเพื่อลดช่องว่างดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงโครงข่าย ICT/บอรดแบนด์อย่างเสมอภาค โดยสร้างพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนสามารถไปใช้อินเทอร์เน็ต และ/หรือคอมพิวเตอร์ ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือเสียค่าใช้จ่ายต่ำมากในเขตเมือง และชุมชนทั่วประเทศ พร้อมทั้งพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับประชาชนที่มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ สร้างความยั่งยืนให้แก่ศูนย์สารสนเทศชุมชน ศูนย์ ICT ชุมชน หรือสถานที่อื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์คล้ายกัน และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีไร้สายในพื้นที่ห่างไกล โดยใช้กลไกการกำกับดูแลในเรื่องของการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง ทั้งนี้ ในการดำเนินการเพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัลนั้น ให้คำนึงถึงการออกแบบและใช้ระบบ โปรแกรม หรือ อุปกรณ์ ที่เป็นสากล (universal design) รวมทั้งจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (assistive technologies) ให้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงของประชาชนทุกกลุ่ม รวมทั้งผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
1.4 ปรับปรุงคุณภาพของโครงข่าย เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่โครงข่าย next generation และ โครงข่ายอัจฉริยะของอนาคตตามแนวทางของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ การกำหนดมาตรฐานของโครงข่ายให้สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยไร้ตะเข็บเสมือนเป็นโครงข่ายเดียวกันทั้งประเทศ และสนับสนุนการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องในระยะยาว
1.5 ประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่าย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งภาคธุรกิจและประชาชนในการสื่อสาร และการทำธุรกรรมออนไลน์ โดนสร้างความตระหนักและให้ความรู้ถึงแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ แก่ผู้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Chief Information Officer : CIO) ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ (critical infrastructure) และจัดตั้ง national cyber security agency มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (cyber security) การพัฒนาโครงข่ายทางเลือก (alternative routing) หลายเส้นทางที่ใช้เชื่อมโยงประเทศไทยไปสู่ประเทศต่าง ๆ ของโลก เพื่อมิให้โครงข่ายไปกระจุกตัวอยู่ในเส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง (ทางภูมิศาสตร์) เป็นส่วนใหญ่ และเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและโครงข่าย (network security) ของประเทศ รวมถึงการจัดทำ ทบทวนและปรับปรุง แผนแม่บทด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและโครงข่าย (national information security roadmap) อย่างต่อเนื่อง
1.6 ประกันความมั่นคงปลอดภัยของสาธารณะ (public security & safety) ในการใช้โครงข่ายและระบบสารสนเทศ โดยให้หน่วยงานของรัฐที่ได้ติดตั้งระบบเครือข่ายโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV Network) ในสถานที่สาธารณะ จัดให้มีระบบการจัดเก็บคลังภาพวีดีโอ (archive) เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม และจัดให้มีกลไกในการให้รางวัลหรือให้ค่าตอบแทนแก่ภาคธุรกิจและ/หรือประชาชนทั่วไปที่มีการติดตั้งระบบเครือข่ายโทรทัศน์วงจรปิด และสามารถบันทึกภาพวีดีโอที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ให้ทุกหน่วยงานที่มีศูนย์ข้อมูล (data center) จัดทำแผนฉุกเฉิน และขั้นตอนการดำเนินงานในด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร ในกรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน (emergency protocols) เพื่อรองรับภัยพิบัติประเภทต่าง ๆ ทั้งจากภัยธรรมชาติ และภัยมนุษย์
1.7 เพิ่มทางเลือกในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร โดยเร่งรัดการดำเนินการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบแพร่กระจายเสียงโทรทัศน์ดิจิทัล ในการกำหนดวันที่จะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิทัลให้ทันภายในปี พ.ศ.2558 พร้อมทั้ง กำหนดนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ชัดเจนของโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นการแพร่กระจายภาพกระจายเสียงในรูปแบบดิจิทัล โดยให้ความสำคัญกับหลักการของสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสาร และสิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และต้องมีข้อกำหนดเรื่องความทั่วถึง เท่าเทียม
1.8 จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมายที่เหมาะสม โดยมีความทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทั้งการออกกฎหมายที่ยังค้างอยู่ในขั้นตอนนิติบัญญัติให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว และยกร่างกฎหมายที่มีความจำเป็นหรือยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมหรือธุรกรรมออนไลน์ พร้อมทั้งจัดให้มีการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย และเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรในสายกระบวนการยุติธรรม
1.9 ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพัฒนา การพัฒนาผู้ประกอบการในประเทศ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีในประเทศ รวมถึงมีกลไกที่เหมาะสมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสูผู้ประกอบการ เพื่อนำไปสู่การใช้งานจริงและสู่การดำเนินการเชิงพาณิชย์ เพื่อลดการนำเข้าอุปกรณ์และ/หรือ เทคโนโลยีจากต่างประเทศในระยะยาว
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาทุนมนุษย์ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน รวมถึงพัฒนาบุคลากร ICT ที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับมาตรฐานสากล
วัตถุประสงค์สำคัญของยุทธศาสตร์นี้เพื่อให้ประเทศไทยมีกำลังคนที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการพัฒนาและใช้ ICT อย่างมีประสิทธิภาพในปริมาณเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาประเทศในยุคเศรษฐกิจฐานบริการและฐานความคิดสร้างสรรค์ ทั้งบุคลากร ICT และบุคลากรในทุกสาขาอาชีพ โดยมีกลยุทธ์และมาตรการ ดังต่อไปนี้
2.1 จัดทำกรอบแนวทางการพัฒนาบุคลากร ICT และพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานทั่วไป ให้มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยแผนพัฒนาบุคลากร ICT (ICT Professional) อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ICT ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และ National ICT Competency Framework เพื่อกำหนดระดับความรู้และทักษะที่ต้องการสำหรับบุคลากรระดับต่าง ๆ และใช้กรอบแนวทางดังกล่าว เป็นแนวทางในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร ทั้งนี้ให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการทดสอบมาตรฐานความรู้และทักษะด้าน ICT ระดับประเทศ (National ICT Skill Certification Center) รับผิดชอบการวางแผนและประสานงานในส่วนที่เกี่ยวกับการเทียบระดับมาตรฐานความรู้และทักษะด้าน ICT กับต่างประเทศ และให้มีการจัดทำฐานข้อมูลด้านบุคลากรและแรงงานที่เกี่ยวข้องกับ ICT
2.2 ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ ๆ ด้าน ICT ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมหรือระบบเศรษฐกิจ ทั้งความรู้และทักษะที่สามารถสร้างนวัตกรรมเชิงบริการด้าน ICT และสร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้าและบริการ ICT ไทย และความรู้และทักษะในสหวิทยาการ รวมทั้งเพิ่มปริมาณและคุณภาพของบุคลากร ICT ที่มีทักษะสูง ให้มีความรู้และทักษะในระดับที่เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มหรือปรับปรุงหลักสูตรการเรียนด้าน ICT ในมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้ว และการเน้นทักษะในการปฏิบัติงานจริงควบคู่ไปกับความรู้ทางทฤษฎี ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันเฉพาะด้าน ICT
2.3 ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร ICT ที่ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรม ให้มีความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการขยายตลาดไปต่างประเทศ และความรู้เกี่ยวกับกลไกการค้าระหว่างประเทศรวมถึงทักษะด้านภาษาที่จำเป็น พร้อมทั้งสนับสนุนการสอบมาตรฐานวิชาชีพ ICT ในด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาบุคลากร และ National ICT Competency
2.4 เตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนย้ายบุคลากรด้าน ICT ระหว่างประเทศอันเป็นผลมาจากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน อำนวยความสะดวกในการเข้ามาทำงานของบุคลากร ICT จากต่างประเทศที่มีทักษะเป็นที่ต้องการ รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรที่มีความรู้และทักษะ ICT ที่เป็นที่ต้องการเลือกเข้ามาทำงานในประเทศไทย และส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างองค์กรและบุคลากรกับต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทักษะใหม่ ๆ รวมถึงการทำวิจัยและพัฒนาร่วมกัน
2.4 สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน เพื่อสร้างแรงงานในอนาคต ที่มีความรู้และทักษะในการใช้ประโยชน์จาก ICT โดยสนับสนุนการแพร่กระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT ที่จำเป็นและเหมาะสมไปยังห้องเรียนในทุกระดับ และอบรมทักษะในการใช้ ICT รวมถึงการพัฒนาและประยุกต์ใช้สื่อ ICT เพื่อการเรียนรู้ให้กับบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องนำ ICT มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น ปรับปรุงเนื้อหาหรือหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประถมและมัธยมศึกษา เพิ่มเนื้อหาที่เป็นการเสริมสร้างทักษะในการใช้ประโยชน์จาก ICT ที่เหมาะกับการเรียนรู้ การดำรงชีวิต และการจ้างงานในศตวรรษที่ 21 โดยให้ความสำคัญกับทักษะ 3 ประการ คือ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT literacy) การรอบรู้ เข้าถึง สามารถพัฒนาและใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ (information literacy) และการรู้เท่าทันสื่อ (media literacy) และให้มีหลักสูตรหรือเนื้อหาเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ ICT ความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงผลกระทบของ ICT ต่อสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนทุกระดับ ทั้งนี้ กำหนดให้ทุกสถาบันการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ต้องจัดให้มีการทดสอบความรู้ด้าน ICT พื้นฐาน (basic ICT literacy) และความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียน/นักศึกษาก่อนจบการศึกษาตามหลักสูตร เพื่อให้นักเรียน/นักศึกษาก่อนจบการศึกษาตามหลักสูตร เพื่อให้นักเรียน/นักศึกษาที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาทุกคนมีความรู้และทักษะด้าน ICT และภาษาอังกฤษในระดับที่เป็นที่ยอมรับและสามารถเทียบเคียงได้กับมาตรฐานสากล
2.6 รณรงค์ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ICT และโอกาสทางการจ้างงานแก่ผู้ประกอบการและแรงงานทุกระดับ เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีงานทำและเพื่อให้สามารถใช้ ICT ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสร้างความตระหนักรู้แก่สถานประกอบการถึงประโยชน์ของการใช้ ICT และสร้างแรงจูงใจแก่สถานประกอบการในการพัฒนาความรู้และทักษะด้าน ICT ที่สอดคล้องกับ National ICT Competency Framework แก่พนักงาน พร้อมทั้งจัดให้มีแรงจูงใจที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานใหม่ ๆ ด้าน ICT ในอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับ ICT อย่างสูง และส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรในสาขาอื่นที่มีความสนใจจะเปลี่ยนสายวิชาชีพมาทำงานด้าน ICT สามารถเข้ารับการอบรมความรู้และทักษะด้าน ICT ในหลักสูตรระดับต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
2.7 สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก ICT สำหรับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ และผู้พิการ โดยใช้ประโยชน์จากศูนย์สารสนเทศชุมชน หรือศูนย์ ICT ชุมชน ในการจัดอบรมความรู้ด้าน ICT ให้แก่ประชาชนทั่วไปในชุมชน และจัดทำหลักสูตรและจัดอบรมความรู้ด้าน ICT รวมถึงการใช้ ICT เพื่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันให้แก่ผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและนำรายได้เข้าประเทศโดยใช้โอกาสจากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ การเปิดการค้าเสรีและประชาคมอาเซียน
ยุทธศาสตร์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้อุตสาหกรรม ICT เข้มแข็งและเติบโตอย่างต่อเนื่องสามารถก้าวสู่ความเป็นหนึ่งในผู้นำในภูมิภาคอาเซียน และเป็นอุตสาหกรรมลำดับต้น ๆ ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและนำรายได้เข้าประเทศ โดยมีการดำเนินการ ดังนี้
3.1 ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรม ICT ทั้งบุคลากรที่มีอยู่เดิมในอุตสาหกรรมและบุคลากรรุ่นใหม่ ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทักษะระดับสูง เพื่อให้เป็นรากฐานที่สำคัญของการขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรม ICT ของประเทศไทย โดยใช้กลไกและมาตรการที่กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 2 ควบคู่ไปกับการส่งเสริมพัฒนาบุคลากร ICT ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการขยายตลาดไปต่างประเทศ และกลไกการค้าระหว่างประเทศ และทักษะด้านภาษาที่จำเป็น ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้บุคลากรด้านการตลาดมีความรู้ความเข้าใจต่ออุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน และสร้างผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีที่มีความรู้ ผสมผสานกัน ทั้งการทำธุรกิจ การตลาด และเทคโนโลยี (technopreneur) ที่จำเป็นสำหรับการสนับสนุนการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศได้
3.2 ส่งเสริมการสร้างตราสัญลักษณ์ (brand) และพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ ICT ไทยมุ่งไปสู่การทำการตลาดระหว่างประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพของสินค้า ICT ของไทยให้สูงขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมด้านการบริการ ICT มาสนับสนุน รวมทั้งประโยชน์จากความเชื่อถือ และภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่มีสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และแข่งขันได้ในเวทีโลกอยู่แล้ว มีการพัฒนาอุตสาหกรรมในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ (cluster) ระหว่างผู้ประกอบการในระดับ (tier) ต่าง ๆ การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และที่เกี่ยวกับวิทยาการบริการ ด้าน ICT การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการมาตรฐานที่สอดคล้องกับแนวทางและมาตรฐานสากล และส่งเสริมการประยุกต์ใช้สื่อสังคม (social media) ในการเชื่อมโยงกลุ่มลูกค้า และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งเสริมแนวคิดของการพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด
3.3 ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมิกันในระดับภูมิภาคเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมทุน ร่วมพัฒนาสินค้าและบริการ ทำตลาดร่วมกันกับประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยใช้ความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ ของประเทศในอาเซียนมาสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมไทย อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคลากร ICT ที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญระดับสูง และการลงทุนในอุตสาหกรรม ICT จากประเทศในกลุ่มอาเซียน และ/หรือกลุ่มประเทศพันธมิตรของ ASEAN มายังประเทศไทย พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนา และการสร้างนวัตกรรมร่วมกันของกลุ่มประเทศอาเซียน และกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศพันธมิตร
3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการใหม่ให้มีความเข้มแข็งแข่งขันได้ในอนาคต โดยเน้นกลุ่มผู้ประกอบการสาขาซอฟต์แวร์และบริการด้านคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ที่ให้บริการที่ใช้ ICT เป็นพื้นฐาน (IT-enabled service) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์รูปแบบใหม่ ผู้ประกอบการฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบ embedded system ซึ่งผลิตอุปกรณ์เฉพาะทางด้านการสร้างระบบอัจฉริยะ (smart system) ในด้านต่าง ๆ และผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม/อุปกรณ์โครงข่ายต่าง ๆ
3.5 พัฒนาระบบหรือกลไกสนับสนุนผู้ประกอบการ ทั้งสนับสนุนด้านเงินทุน การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม ประกอบด้วยบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างทั่วถึง และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการผลิตและ/หรือการพัฒนาของแต่ละอุตสาหกรรมที่อาจแตกต่างกันไป นอกจากนี้ ยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีและ/หรือโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่มั่นคงปลอดภัยหรือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างให้มีกฎหมายและกฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้ประกอบการและอุตสาหกรรม ควบคู่กับการสร้างความรู้ ความตระหนักให้กับผู้ประกอบการ เกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ ในการปกป้องคุ้มครองงานอันมีทรัพย์สินทางปัญญาของตน พร้อมทั้งจัดทำและ/หรือปรับปรุงระบบฐานข้อมูล โดยมีข้อมูลที่จำเป็น ให้แก่ผู้ประกอบการนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนหรือกำหนดกลยุทธ์การตลาดตามความเหมาะสม และกลไกการจัดซื้อ จัดจ้างของภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ใช้ ICT เพื่อสร้างนวัตกรรมการบริการของภาครัฐที่สามารถให้บริการประชาชนและธุรกิจทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัย และมีธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ฉลาดรอบรู้ (intelligence) มีการเชื่อมโยง (integration) และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดรูปแบบบริการของภาครัฐ เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมรับประโยชน์จากบริการอย่างเท่าเทียมกัน (inclusion) ภายใต้ระบบบริหารที่มีธรรมาภิบาล (good governance) และมีแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
4.1 ให้มีหน่วยงานกลางที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยจัดทำแผนที่นำทางด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ออกแบบสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาระบบ ICT ของหน่วยงานของรัฐ กำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศของภาครัฐ โดยเน้นการใช้มาตรฐานแบบเปิด (open standard) เพื่อรองรับการทำงานร่วมกันระหว่างเทคโนโลยีมาตรฐานต่าง ๆ กำหนดแนวทางในการพัฒนาและจัดให้มีบริการกลาง (common service) ที่จำเป็นให้แก่หน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีส่วนร่วมในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณด้าน ICT และโครงการ ICT ขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมทั้งกำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินการพัฒนาความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อการให้บริการภาครัฐ
4.2 จัดตั้งและพัฒนาความเข้มแข็งของสภา CIO ภาครัฐ (government CIO council) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย CIO จากหน่วยงานของภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
4.3 ส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทาง รัฐบาลเปิด” ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใส ตรวจสอบได้, การมีส่วนร่วม, การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐต่อสาธารณะในรูปแบบเปิด (open government data) ให้ประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจสามารถ เข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Web 2.0 พร้อมทั้งพัฒนาบริการที่ประชาชนหรือผู้รับบริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา จากทุกอุปกรณ์ แลดะส่งเสริมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (social media) เพื่อเป็นเวทีในการเข้าถึง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและหรือผู้รับบริการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี (best practices) จากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคหรือในทางกลับกัน ควบคู่ไปกับการจัดให้มีระบบความมั่นคงปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือในการใช้บริการข้อมูลข่าวสารและบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ
            4.4 ส่งเสริมการออกแบบระบบที่เน้นผลลัพธ์ในเชิงบริการ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (reusable) โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมในแนวทาง service oriented architecture (SOA) เพื่อให้ได้ระบบบริการที่มารองรับการทำงานบริการประชาชน
            4.5 พัฒนาบุคลากรของภาครัฐในแนวทางที่สอดคล้องกับวิวัฒนาการด้านนวัตกรรมบริการ สำหรับบุคลากร ICT เน้นพัฒนาทักษะในการออกแบบและเข้าใจสถาปัตยกรรม ICT             และหรือทักษะในการจัดหาระบบ ICT ตามแนวทางใหม่ที่เน้นในเรื่องการใช้บริการ ICT จากภายนอกในกรณีข้าราชการและหรือพนักงานทั่วไป จำเป็นต้องพัฒนาทักษะความรู้ด้านการใช้ ICT พื้นฐานที่เป็นการใช้อย่างฉลาด มีวิจารณญาณ และรู้เท่าทัน ควบคู่กับทักษะความรู้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการของตำแหน่งงาน และที่จำเป็นต่อการศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลจากรอบตัว เพื่อนำมาช่วยพัฒนาบริการให้แก่ประชาชน
            4.6 พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในด้านที่เกี่ยวกับวิทยาการบริการ เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องความต้องการ เงื่อนไข หรืออื่น ๆ ที่จะส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคหรือผู้รับบริการ อันจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้งานเพื่อสนับสนุนวัตกรามการบริการของภาครัฐโดยการรู้เท่าทันและเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม และการร่วมมือกับภาคและเอกชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม (social enterprise)
            4.7 เสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานระดับภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สามารถจัดบริการรัฐบาลอิเล็กโทรนิกส์ในระดับท้องถิ่นแก่ประชาชน โดยจัดสรรทรัพยากร รวมถึงพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับหน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่นที่เหมาะสมกับความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่น และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนรับผิดชอบในการจัดหางบประมาณในการพัฒนาบริการ ICT สำหรับใช้ในกิจการของท้องถิ่น และจัดให้มีบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้าน ICT เพื่อประสานงานกับหน่วยงานกลาง และกลไกในการกำหนดแนวทางในการใช้ ICT ของชุมชน เพื่อประโยชน์ของชุมชนและสังคมในพื้นที่ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
            4.8 พัฒนาหรือต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศแห่งชาติของประเทศไทย ให้สามารถตอบสนองความต้องการข้อมูลเชิงพื้นที่ของทุกภาคส่วนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกส่วนราชการ ภาคธุรกิจ หรือประชาชนที่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลสามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีเอกภาพ ถูกต้อง ทันสมัย ร่วมกันได้
            4.9 ส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบความมั่นคงของชาติ (national security) โดยพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพของหน่วยงานด้านความมั่นคง ระบบเฝ้าระวังและติดตาม และส่งเสริมการวิจัยพัฒนา เพื่อให้สามารถติดตามความก้าวหน้าของ ICT และรู้เท่าทันผลกระทบของเทคโนโลยี และสร้างการรับรู้และความตระหนักถึงภัยที่อาจส่งผลต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตให้สามารถพึ่งตนเองและแข่งขันในระดับโลก โดยเฉพาะภาคการเกษตร ภาคบริการ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มสัดส่วนภาคบริการในโครงสร้างเศรษฐกิจโดยรวม
            ยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายในการใช้ ICT เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในสินค้าและบริการที่ไทยมีศักยภาพ แปลงสภาพเศรษฐกิจจากฐานการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานบริการและฐานความคิดสร้างสรรค์ โดยมีกลยุทธ์และมาตรการ ดังนี้
            5.1 เพิ่มความเข้มแข็งให้กับฐานการผลิตของประเทศ โดยพัฒนาการใช้ ICT สำหรับกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่มูลค่า การบริหารจัดการโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทานในทุกสาขาการผลิต การบริหารความเสี่ยงในกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานและการตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงการผสาน ICT เข้ากับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในการแปลงอุตสาหกรรมการผลิตจากการเป็นผลิตจากการเป็นผู้ผลิตตามคำสั่งลูกค้า มาเป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์และก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตและขายภายใต้ตราสัญลักษณ์ของตนเอง
            5.2 พัฒนาคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ โดยสนับสนุนให้มีหน่วยงานที่มีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับวิทยการบริการ และสนับสนุนการพัฒนาความรู้ที่เกี่ยวกับ ICT และวิทยาการบริการ ให้กับผู้ประกอบการและพนักงาน ส่งเสริมให้มีการประกวดนวัตกรรมที่เกิดจากการผสานความคิดสร้างสรรค์กับเทคโนโลยี ICT ในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ และส่งเสริมการประยุกต์ใช้สื่อสังคม ในการเชื่อมโยงกลุ่มลูกค้าต่าง ๆ เพื่อสร้างชุมชนที่มีความต้องการสินค้าและบริการเหมือน ๆ กัน และนำไปสู่การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในการออกแบบ และเปิดเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งเสริมแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิด Virtual city ที่จำลองสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในประเทศไทย เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกได้ท่องเที่ยวออนไลน์ในบรรยากาศเสมือนจริง
          5.3 ขยายตลาดและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ โดยส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยี ICT และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก วิสาหกิจชุมชน เครือข่ายวิสาหกิจ สหกรณ์ในกลุ่มภาคเกษตร ในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ การค้า การบริการ และการเข้าถึงตลาด เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพันธมิตร นอกจากนี้ ต้องเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค และการตัดสิน ระงับข้อพิพาท เพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงพิจารณาลดเงื่อนไขหรือกฎระเบียบอันเป็นอุปสรรคต่อการนำระบบดังกล่าวมาใช้ในการดำเนิน ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีสื่อสังคมมาสนับสนุนการจัดการธุรกิจและการตลาด
            ทั้งนี้ ในการพัฒนา ICT เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตในกรอบนโยบาย ICT2020 นี้ ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับภาคการผลิตที่ไทยมีศักยภาพ ได้แก่ ภาคการเกษตรและภาคบริการ โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่เกษตรอัจฉริยะ (smart agriculture) และบริการอัจฉริยะ (smart service) ดังนี้
แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ
            1. เพิ่มผลิตภาพในกระบวนการผลิต และเพิ่มศักยภาพของสินค้าเกษตรโดยการสร้างนวัตกรรม โดยสนับสนุนเทคโนโลยี ICT ที่ใช้งานง่ายให้กับเกษตรกร เพื่อเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตแบบครบวงจรตลอดห่วงโซ่มูลค่า เช่น ระบบอัตโนมัติ เกษตรอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานร่วมกับระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่พร้อมด้วยระบบวิเคราะห์ การทำนายหรือคาดการณ์ผลผลิตล่วงหน้า รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรรายย่อย และยุวเกษตรกร ให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและความรู้ รวมทั้งใช้ ICT พื้นฐาน และส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการนำ ICT ไปใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาคเกษตร และการสนับสนุนการพัฒนาและประยุกต์ใช้งาน ICT ร่วมกับเทคโนโลยีสาขาอื่น ๆ
            2. เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการส่งออก โดยพัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรแห่งชาติที่เชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญต่อการทำเกษตรอย่างครบวงจรจากทุกหน่วยงานของรัฐ ควบคู่ไปกับพัฒนาระบบมาตรฐานข้อมูลเพื่อการเกษตรสำหรับประเทศ และ National ID สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยใช้มาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลการเกษตรเพื่อการผลิต การตัดสินใจและการวางแผนการจัดสรรทรัพยากร การตรวจสอบย้อนกลับ และการส่งออกสินค้าเกษตร และใช้ระบบ e-Certification เพื่อเชื่อมโยงเอกสารที่จำเป็นในการทำการค้าระหว่างประเทศ
            3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหาย โดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยลดความเสี่ยง
            4. พัฒนาระบบการจัดการความรู้ในภาคเกษตรโดยใช้ ICT ในการจัดการและเผยแพร่ความรู้ที่สามารถให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรในรูปแบบ knowledge on demand หรือระบบเตือน (alert system) บนอุปกรณ์ จัดทำระบบบริการข้อมูลการเกษตร ที่สามารถให้ความรู้และข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละพื้นที่และผลิตภัณฑ์ และสร้างชุมชนออนไลน์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ภูมิปัญญา องค์ความรู้ทางการเกษตร และเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของบุคคล ชุมชน
แนวทางการขับเคลื่อนบริการอัจฉริยะ
            1. พัฒนาทักษะของผู้ประกอบการและพนักงานในองค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) วิสาหกิจชุมชน เครือข่ายวิสาหกิจ (cluster) กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ รวมทั้งสนับสนุนให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ที่หลากหลาย ทั้งหลักสูตรสำหรับผู้ประกอบการ พนักงาน และผู้บริหาร โดยครอบคลุมเนื้อหาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้างนวัตกรรมบริการที่ใช้ ICT เป็นพื้นฐาน ภาษาต่างประเทศ และสนับสนุนการเข้าถึงและการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลายผ่านเครือข่ายสังคม
            2. สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้าน ICT และไม่ใช่ ICT แต่มีความจำเป็นสำหรับการสร้างนวัตกรรมบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นบนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริการที่จำเป็น และส่งเสริมการวิจัยและกระบวนการทำธุรกิจ พร้อมทั้งแก้ไขและปรับปรุงกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ และข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรมบริการ และต่อการสร้างความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาค นอกจากนี้ ให้สร้างมาตรฐานในการให้บริการที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับมาตรฐานของประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อให้คุณภาพของบริการของไทยเป็นมาตรฐานสากล เกิดความเชื่อมั่นต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
            3. เพิ่มคุณค่าของสินค้าที่ผลิตจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคเกษตร และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ด้วยงานบริการ เพื่อให้สินค้าทุกชนิดมีส่วนประกอบของบริการเป็นส่วนสำคัญโดยใช้ ICT และการเชื่อมโยงชุมชนในวงกว้างด้วยสื่อสังคม ในการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่มูลค่า
            4. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมหรือธุรกิจบริการ โดยให้มีการจัดสรรงบประมาณและจัดให้มีหน่วยงานที่มีหน้าที่ศึกษา และส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับวิทยาการบริการซึ่งต้องอาศัยองค์ความรู้ในสหวิทยาการ ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกส่วน ทุกขั้นตอนของระบบบริการ อันจะนำไปสู่การวิจัยพัฒนานวัตกรรมการบริการ พร้อมทั้งจัดให้มีการศึกษาด้านกฎหมายหรือระบบที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจบริการ รวมทั้งกลไกอำนวยความสะดวกในการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจบริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม โดยสร้างความเสมอภาคของโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการสาธารณะสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะบริการพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะที่ดี ได้แก่ บริการด้านการศึกษา และบริการสาธารณสุข
            ยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับการประกันสิทธิในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการสื่อสารโทรคมนาคม และข้อมูลข่าวสาร เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยมีกลยุทธ์และมาตรการดังนี้
            1. จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่กระจายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการแพร่กระจายของ ICT สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน ICT และโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์ ICT ที่มีราคาประหยัด และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ และสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่การผลิตหรือบริการ
            2. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะการใช้ ICT ให้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาและประโยชน์ของ ICT ที่เกี่ยวข้องโดยตรงของวิถีชีวิตของประชาชนชุมชนกลุ่มต่าง ๆ และการรู้เท่าทันสื่อหรือข้อมูลข่าวสาร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการประยุกต์ใช้ ICT ที่สอดคล้องกับความต้องการของปัจเจกชน ชุมชน และท้องถิ่น อันจะนำมาซึ่งโอกาสในการมีงานทำและมีรายได้ที่สูงขึ้น
            3. ส่งเสริมให้มีสื่อดิจิทัลที่สามารถใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต และกระบวนการเรียนรู้ของประชาชน โดยจัดสรรทรัพยากรการสื่อสารสำหรับโทรทัศน์เพื่อการศึกษา การพัฒนาสื่อดิจิทัลในภาษาท้องถิ่น การแปลสื่อหรือหนังสือ การจัดทำสื่อภาษามือสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน พร้อมทั้งเร่งกำหนดมาตรฐานของประเทศเรื่องรูปแบบของแฟ้มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และสนับสนุนการทำงานในรูปแบบอาสาสมัครเพื่อสร้างสื่อที่เหมาะสมกับชุมชน โดยใช้กลไกการทำงานของเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกันของอาสาสมัคร
            4. จัดให้มีบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐผ่านช่องทางในการเข้าถึงอย่างหลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการทางสังคม และเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารและการบริการของภาครัฐ ทั้งนี้ ให้มีการบังคับใช้มาตรฐานเกี่ยวกับ ICT ที่เหมาะสม เช่น มาตรฐานการเข้าถึงข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้พิการและผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการภาครัฐได้อย่างเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป
            5. ส่งเสริมให้เกิดชุมชนหรือสังคมการเรียนรู้ออนไลน์ที่สร้างสรรค์ การจัดทำเว็บท่า สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย และการรวมกลุ่มทางสังคมที่เข้มแข็ง การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างสถาบันการศึกษา วัด ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งความรู้หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และกระตุ้นให้เกิดการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดวิชาการสมัยใหม่จากแนวคิดหรือความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การสร้าง ต่อยอด ถ่ายทอด และบูรณาการความรู้ที่เหมาะสมกับการพัฒนาชุมชน และส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึง ตะหนัก เข้าใจและเคารพในความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีอยู่ในประเทศ
            6. เสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงปลอดภัยในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเร่งรัดการจัดทำหมายหรือกฎระเบียบที่จำเป็นต่อการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย รวมทั้งรณรงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายที่บังคับใช้อยู่และเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากภัยออนไลน์ จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้หรือการอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความรอบรู้สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันความเสี่ยงและอันตรายที่อาจมีในสังคมออนไลน์ ส่งเสริมการใช้กลไกทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนหรือสังคมออนไลน์ในทางสร้างสรรค์ ตามแนวทางของการกำกับดูแลตนเอง

แนวทางการขับเคลื่อนการเรียนรู้อย่างฉลาด
            1. จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่กระจายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยมุ่งเน้นการเข้าถึงเครื่องมือ ICT และโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และสนับสนุนการแพร่กระจายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่จำเป็นและเหมาะสมกับการเรียนรู้ไปยังห้องเรียนในสถาบันการศึกษาในทุกระดับ และแหล่งเรียนรู้ ICT และหรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชนและชุมชน ห้องสมุดของสมาคมผู้พิการเฉพาะด้าน และโรงเรียนเรียนร่วมโดยให้คำนึงถึงการออกแบบและใช้ระบบ โปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เป็นสากล (universal design) และมีการพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ ICT ที่มีราคาประหยัด ใช้งานง่าย รวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
            2. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้แก่ประชาชนในทุกระดับ โดยอบรมทักษะการใช้ ICT และการประยุกต์ใช้ รวมทั้งการพัฒนาสื่อ ICT เพื่อการเรียนรู้ให้กับบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และกำหนดเกณฑ์ความรู้และทักษะด้าน ICT ที่เหมาะสมกับบุคลากรทางการศึกษาแต่ละระดับ และมีการทดสอบตามข้อกำหนด พร้อมทั้งกำหนดสัดส่วนเป็นชั่วโมงเรียนที่ใช้ ICT พร้อมทั้งมีหลักสูตรคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ ICT เป็นหนึ่งในหลักสูตรภาคบังคับของระดับประถมศึกษาตอนต้น ควบคู่ไปกับการปรับปรุงเนื้อหาหรือหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประถมหรือมัธยมศึกษา โดยให้เพิ่มเนื้อหาที่เป็นการเสริมการเสริมสร้างทักษะในการใช้ประโยชน์จาก ICT ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ การดำรงชีวิต และการจ้างงานในศตวรรษที่ 21 โดยให้ความสำคัญกับทักษะ 3 ประการ คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT literacy) การรอบรู้ เข้าถึง สามารถพัฒนาและใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ (information literacy) และการเรียนรู้เท่าทันสื่อ (media literacy) สำหรับประชาชนทั่วไปให้ใช้ประโยชน์จากศูนย์สารสนเทศชุมชน หรือศูนย์ ICT ชุมชน ในการจัดอบรมความรู้ด้าน ICT และจัดทำหลักสูตรและจัดอบรมความรู้ด้าน ICT รวมถึงการใช้ ICT เพื่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันให้แก่ผู้สูงอายุ
            3. ส่งเสริมการสร้างและประยุกต์ใช้นวัตกรรม และสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ในทุกระดับ รวมถึงการศึกษาตามอัธยาศัย พร้อมทั้งจัดให้มีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเผยแพร่ในแหล่งเรียนรู้กลางที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้มีการสร้างและเผยแพร่สื่อหรือบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการศึกษาทุกระดับในรูปแบบที่หลากหลายที่จัดทำโดยครูและนักเรียน การพัฒนาเนื้อหา ฐานข้อมูล สื่อออนไลน์ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และกำหนดให้พัฒนาเว็บไซด์ของโรงเรียน รวมทั้งสื่อดิจิทัลอื่น ๆ เป็นไปตามมาตรฐานของ Web accessibility standard และส่งเสริมการสร้างเนื้อหาบทเรียนอิเล็กโทรนิกส์ที่เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศอาเซียน เพื่อเป็นการรองรับการเกิดกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเป็นประชากรอาเซียนในอนาคต
            4. กระตุ้นให้เกิดชุมชนหรือสังคมเรียนรู้ออนไลน์ที่สร้างสรรค์ของประเทศไทย การเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดวิชาการสมัยใหม่จากแนวความคิดหรือความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เนื้อหาวิชาหรือประสบการณ์สำหรับชุมชนหรือกลุ่มครอบครัวที่เลือกการเรียนรู้นอกระบบแบบใช้ครอบครัวเป็นฐานหลัก (home schooling) และการจัดการความรู้ของท้องถิ่น เพื่อแปลงความรู้ที่ติดอยู่กับตัวบุคคล (tacit knowledge) ให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสั่งสมองค์ความรู้ของประเทศไทย 
แนวทางการขับเคลื่อนการมีระบบสุขภาพที่ฉลาด
            1. พัฒนาระบบสารสนเทศสุขภาพแห่งชาติ (National Health Information System: NHIS) เพื่อให้เป็นรากฐานที่สำคัญของการบูรณาการข้อมูลและสารสนเทศสุขภาพโดยรวมของประเทศโดยพัฒนามาตรฐานข้อมูล ระบบการจัดการ และเชื่อมโยงบูรณาการข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล สำนักงาน หรือหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพ กรม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการการให้บริการทางการแพทย์และสุขภาพในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ รวมถึงการบริหารจัดการการให้บริการทั้งเชิงรุก เชิงรับ และเชิงป้องกัน ทั้งนี้ในการดำเนินงานให้มีการออกพระราชบัญญัติด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสุขภาพ (National Information Security Act) เพื่อเป็นการกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ โอนย้าย แลกเปลี่ยน และเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพภายใต้บรรทัดฐานเดียวกัน
            2. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในกระบวนการจัดการและการให้บริการทางการแพทย์อย่างครบวงจร โดยจัดให้มีหลักสูตรการบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพ (medical information management) ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา และส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการปรับปรุงระบบการจัดการ การบริหาร และการบริการของสถานพยาบาลอย่างครบวงจร พัฒนาขีดความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์ ICT ของบุคลากรในระดับผู้ปฏิบัติงานของสถานพยาบาลต่าง ๆ และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการบริการสุขภาพ เพื่อให้เกิดบริการที่ใช้ ICT เป็นเครื่องมือ ในการเพิ่มคุณค่าและสามารถตอบสนองต่อประชาชนผู้รับบริการในรูปแบบที่เป็น Personalized service มากขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการวิจัยพัฒนาระบบ เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่สามารถให้บริการทางการแพทย์และสุขภาพในรูปแบบอัจฉริยะ ทั้งนี้ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบด้านการตรวจสอบคุณภาพและหรือทดสอบมาตรฐานอุปกรณ์การแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่นำเข้าจากต่างประเทศและที่ผลิตในประเทศ รวมถึงให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินผลกระทบของเทคโนโลยี อุปกรณ์การแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ที่อาจมีต่อสุขภาพ
            3. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการสนับสนุนการบริการสุขภาพเชิงป้องกัน (preventive care services) โดยพัฒนาระบบประวัติสุขภาพผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีข้อมูลสุขภาพของบุคคลเท่าที่จำเป็น การจัดให้มีบริการเฝ้าระวังและเตือนภัยด้านสุขภาพ โดยการใช้หรือพัฒนานวัตกรรมทางด้านอุปกรณ์การแพทย์ที่สามารถตรวจจับอาการหรือสัญญาณที่บ่งบอกภาวะเสี่ยงของโรคได้อย่างทันท่วงที และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการรับมือหรือเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
            4. พัฒนาระบบการจัดการความรู้ทางการแพทย์และสุขภาพ (health knowledge management) ให้เป็นการสื่อสารสองทางที่ประชาชนทุกกลุ่ม รวมทั้งผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ และผู้พิการ สามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ และให้มีการส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านการใช้ ICT ในชุมชน โดยการสนับสนุนหรือจัดให้แต่ละชุมชนมีเว็บไซด์ที่ดูแลสุขภาพคนในชุมชนของตนเอง และให้ประชาชนหรือผู้ที่สนใจแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้สามารถมาเป็นผู้ร่วมสร้างความรู้ด้านสุขภาพ หรือแบ่งปันประสบการณ์กับผู้อื่นที่กำลังมีปัญหาด้านสุขภาพแบบเดียวกันได้ รวมทั้งให้มีช่องทางบริการความรู้ทางการแพทย์อัจฉริยะที่สามารถให้คำตอบด้านสุขภาพแก่ผู้ขอคำปรึกษา หรือแจ้งเตือนข้อมูลแก่ผู้รับบริการ โดยที่ผู้ขอคำปรึกษาไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล เพื่อช่วยไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนโดยลดความแออัดและประหยัดเวลาการเดินทาง รวมทั้งประหยัดพลังงานที่ต้องใช้ในการเดินทางไปขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ที่โรงพยาบาล
            5. พัฒนาประสิทธิภาพของระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (emergency medical service system) โดยพัฒนาระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลกับรถพยาบาลและบ้านของผู้ป่วยหรือสถานที่เกิดเหตุ โดยใช้ประโยชน์จากระบบการจลาจลและขนส่งอัจฉริยะระบบอื่น ๆ ที่ใช้งานอยู่แล้ว และการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสามารถให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ครอบคลุมตั้งแต่ที่เกิดเหตุ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และระบบการส่งต่อเพื่อให้ผู้ป่วยหรือประสบภัย ได้รับบริการและการดูแลรักษาที่เหมาะสม ทันท่วงที และต่อเนื่องครบวงจร  
            6. พัฒนาระบบการให้บริการแพทย์ทางไกล (telemedicine) ซึ่งรวมถึงระบบการให้คำปรึกษาระบบการวินิจฉัยโรค และระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อลดภาระการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย และเพื่อสามารถให้บริการผู้ป่วยที่บ้าน (home health care) ตามความจำเป็นและความพร้อมในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน
            7. ให้สถานพยาบาลทุกแห่งที่มีระบบสารสนเทศสุขภาพ และมีอุปกรณ์ทางการแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่และขนาดกลาง ดำเนินการตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549
            8. จัดให้มีกลไกในการบริหารจัดการหรือกลไกสนับสนุนที่เหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยการมีกลไกเชิงสถาบัน การจัดเตรียมบุคลากรที่เหมาะสม เริ่มตั้งแต่ การมีผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (CIO) ในโรงพยาบาล ที่รับผิดชอบงานด้านระบบสารสนเทศทั้งหมดของโรงพยาบาล และให้บุคลากรทุกระดับมีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ICT อย่างมีประสิทธิภาพและรู้เท่าทัน การจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายที่เหมาะสม อาทิ กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ยุทธศาสตร์ที่ พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
            ยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายหลัก เพื่อให้ ICT เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาที่สำคัญสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมสีเขียว โดยมีกลยุทธ์และมาตรการ ดังนี้
            1. สนับสนุนการนำ ICT มาใช้ในมาตรการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้พลังงาน และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมงานวิจัยพัฒนา เพื่อให้เกิดนวัตกรรมทั้งในรูปของอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือระบบ ICT ที่นำไปสู่การลดการใช้พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาวทั้งในระดับองค์กร ท้องถิ่น และระดับประเทศ และให้มีการออกข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลเพื่อการลดพลังงาน เช่น การลดสัดส่วนการใช้กระดาษในหน่วยงานภาครัฐ การเพิ่มสัดส่วนการประชุมทางไกลและการทำงานจากที่บ้านผ่านเครือข่าย ICT รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนระบบการจ่ายไฟอัจฉริยะ (smart grid) เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม และการสนับสนุนการพัฒนาเมืองน่าอยู่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green city)
            2. ส่งเสริมการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ICT โดยจัดทำระเบียบการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจสินค้า เพื่อพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ICT ให้มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพในการผลิต ลดต้นทุนและลดการใช้ทรัพยากรในแต่ละขั้นตอนการผลิต และพัฒนาระบบการใช้ฉลากสิ่งแวดล้อม (eco-label) สำหรับสินค้า ICT ที่ผลิตในประเทศ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ และสร้างความตระหนักแก่ประชาชนถึงประโยชน์ของการพิจารณาฉลากสิ่งแวดล้อมก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ICT ควบคู่ไปกับสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงผลกระทบของ ICT ต่อสิ่งแวดล้อม และกำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อสินค้าและบริการด้าน ICT ของภาครัฐ ให้ต้องมีการพิจารณาเงื่อนไขด้านความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม
            3. ส่งเสริมการใช้ ICT อย่างมีประสิทธิภาพด้านพลังงานสูง และให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของระบบและหรืออุปกรณ์ ICT โดยสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมภายใต้โครงการสนับสนุนศูนย์ข้อมูลสีเขียว (green data center) เพื่อกระตุ้นการพัฒนาประสิทธิภาพ และลดการใช้พลังงานภายในศูนย์ข้อมูล และส่งเสริมและสนับสนุนการรวมศูนย์การจัดเก็บและการประมวลผลข้อมูล (data center ) เข้าไว้ด้วยกัน รวมทั้งสนับสนุนการกำหนดมาตรฐานขีดจำกัดขั้นต่ำของสมรรถนะด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของอุปกรณ์ ICT เพื่อเป็นมาตรฐานในการตรวจสอบสินค้า ICT ที่วางขายในท้องตลาด อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
            4. จัดทำระบบสารสนเทศด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงข้อมูลภาพรวมของระบบนิเวศทั่วประเทศได้อย่างสมบูรณ์แบบเวลาจริง (real time) ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พร้อมทั้งมีรูปแบบการนำเสนอข้อมูลต่อสาธารณะที่หลากหลายเพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง พร้อมทั้งจัดให้มีระบบสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการสาธารณ และส่งเสริมการตั้งเครือข่ายสังคมภาคประชาชน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างความตะหนักของประชาชนต่อการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ  

3. มาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีใช้กันอยู่หลายมาตรฐานในด้านต่าง ๆ ขอยกตัวอย่างมาตรฐานที่สำคัญ  6 มาตรฐาน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1 มาตรฐานสำหรับการจัดการและจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร (ISO 23081-1 : 2006)
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (international organizational standard:  ISO)ได้ประกาศใช้มาตรฐานสำหรับการจัดการและจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร (ISO 23081-1 : 2006-information and documentation – records management process-metadata for records) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 เพื่อให้องค์กรสามารถจัดการกับข้อมูลได้อย่างเป็นขั้นตอน โดยมาตรฐานนี้สามารถใช้ร่วมกับระบบการจัดการข้อมูลอื่นๆและโปรแกรมทุกชนิด มาตรฐาน ISO 23081-1:2006 ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เนื่องจากช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ข้อมูล โดยมีการป้องกันการจัดเก็บข้อมูลและการพิสูจน์เพื่อให้มั่นใจว่าการนำเข้าข้อมูลตรงเวลา มรรูปแบบการจัดการข้อมูลที่ง่ายต่อการเข้าใจ มีประสิทธิภาพและสามารถอธิบายได้ ตลอดจนการกำหนดนโยบายการใช้ข้อมูล และการเก็บเกี่ยวผลกำไรขององค์เป็นระบบ สาระสำคัญของมาตรฐานที่ระบุในเอกสาร ISO 23081-1 : 2006 มีส่วนสำคัญ ส่วนคือ กรอบแนวคิดของมาตรฐานในภาพรวม การเตรียมการขององค์กรเพื่อดำเนินการตามมาตรฐาน และวิธีวิเคราะห์สำหรับการนำเข้าข้อมูลที่สอดคล้องกับแนวคิดของมาตรฐาน
            3.2 มาตรฐานความมั่นคงและความปลอดภัยสารสนเทศ (ISO 17799 หรือ BS 7799) มาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ หรือ ISO 17799 (BS 7799) มีจุดกำเนิดจากการรวบรวมมาตรการพื้นฐาน (baseline)  ที่มีชื่อว่า BS 7799 (British standard 7799) ซึ่งเป็นมาตรฐานทางอุตสาหกรรมที่หลายองค์กรยึดถือร่วมกันและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก แม้กระทั่งองค์กรที่ไม่ได้อยู่ในภาคออุตสาหกรรม โดยได้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนกระมั่งในปี 2000 สถาบันการจัดมาตรฐานองค์กรอังกฤษ (British standard institute; BSI) จึงได้ผลักดันให้มาตรฐาน BS 7799 เป็นมาตรฐานสากล ISO 17799 (international standard organization 17799) โดยมีเนื้อหาสาระแบ่งออกเป็น ส่วนคือ ส่วนที่ แนวทางปฏิบัติสำหรับการจัดความปลอดภัยของข้อมูล และส่วนที่ การจัดตั้งระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูลขึ้นในองค์กร ซึ่งเนื้อหาส่วนที่ นี้เป็นเนื้อหาหลักสำหรับการขอรับรองมาตรฐานในประเทศไทย คณะอนุกรรมการความมั่นคง ภายใต้คณะกรรมการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2554 ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้นำมาตรฐาน ISO 17799 มาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยด้านอิเล็กทรอนิกส์ โดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมและสถานการณ์ทางด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย ปัจจุบันมาตรฐาน ISO 17799 ได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2
            3.3 มาตรฐานระบบตรวจสอบการบุกรุกข้อมูลด้าน IT (ISO 18043:2006)  ปัจจุบันทั่วโลกต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการบุกรุกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ประมาณ 15,000 ล้านบาท/ปีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานหรือ ISO จึงได้ประกาศใช้มาตรฐาน ISO 18043:2006 (information technology – security techniques-selection, deployment and operation of intrusion detection system) เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 เพื่อช่วยในการตรวจสอบการบุกรุกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์จากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยข้อกำหนดได้อธิบายวิธีการจัดทำระบบตรวจสอบการบุกรุก (intrusion detection system ; IDS) ใน 3 ประเด็นสำคัญคือ การเลือกระบบสำหรับการใช้งาน การเตรียมการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและการลงมือปฏิบัติ โดยมีข้อแนะนำสำหรับการจัดจ้างหน่วยงานภายนอก (outsourcing)
            ในการวางระบบตรวจสอบการบุกรุกข้อมูล ซึ่งข้อมูลการจัดทำข้อตกลงระหว่างองค์กรและหน่วยงานภายนอก สามารถศึกษาเพิ่มเติมในกระบวนการจัดการเรื่องการให้บริการด้าน IT ในมาตรฐาน ISO/IEC 20000 มาตรฐานนี้เป็นประโยชน์สำหรับองค์กรที่ได้จัดทำมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไว้แล้ว ในประเด็นต่าง ๆ คือ มาตรฐาน ISO/IEC 27001 ในประเด็นการเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบและแจ้งผลอย่างทันท่วงทีในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของข้อมูล และประเด็นการติดตามผล การทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติงาน ที่แสดงถึงความพยายามในการป้องกันการทำความเสียหายให้กับข้อมูล และมาตรฐาน ISO/IEC 17799 ในประเด็นการตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต การบันทึกหลักฐานการติดตามผลการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตารางการปฏิบัติการ และการแก้ไขความผิดพลาดของข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าปัญหาของระบบข้อมูลได้รับการแก้ไขแล้ว ซึ่งระบบการติดตามนี้ควรใช้สำหรับการตรวจสอบประสิทธิภาพของการควบคุมที่ดูแล และการทดสอบความสอดคล้องของระบบกับนโยบาย หัวใจสำคัญของการนำระบบตรวจสอบการบุกรุกไปเพิ่มผลกำไรให้ได้มากที่สุด คือ การวางแผนอย่างระมัดระวังในขั้นตอนการคัดเลือกระบบ และการลงมือปฏิบัติ โดยการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยบุคคลที่มีประสบการณ์และการได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี ทั้งนี้เมื่อกระบวนการถูกนำไปใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล ผลผลิตจากการจัดทำระบบจะช่วยให้องค์กรได้รับแจ้งข้อมูลเมื่อมีการบุกรุก และสามารถแก้ไขโดยใช้อุปกรณ์ที่มีความสำคัญ โดยใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่
            3.4 ข้อกำหนดการจัดการเว็บไซต์ (ISO/IEC 23026 : 2006) ISO และ IEC ได้พิมพ์เอกสาร ISO/IEC 23026 : 2006 (software engineering -recommended practice for the internet -- web site engineering, web site management, and web site life cycle) เพื่อแนะนำนักพัฒนาเว็บไซต์ให้สร้างเว็บเพจที่ปรับปรุงความสามารถของระบบฐานข้อมูลภายในองค์กรและนอกองค์กร เพื่อให้สามารถจัดส่งข้อมูลและบริการที่ถูกต้องให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มาตรฐานนี้มุ่งที่จะปรับปรุงความสามารถในการจัดการเว็บไซต์ โดยให้ความสำคัญกับหัวข้อหลัก คือ การระบุแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การทำให้ง่ายต่อการใช้งาน การลดการละเมิดกฎหมาย และการจัดหารูปแบบการพัฒนาและการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ ความสำเร็จในการจัดการฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ขึ้นอยู่กับการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า โดยมีการวางแผนพัฒนาที่เหมาะสมและอาศัยการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงการใช้งานให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการจัดทำเว็บไซต์ยังคงประสบปัญหาในเรื่องการออกแบบ และการพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
                  3.5 มาตรฐานความปลอดภัยในการดำเนินธุรกิจการให้บริการทางการเงิน (ISO21188 : 2006) มาตรฐานความปลอดภัยในการดำเนินธุรกิจการให้บริการทางการเงิน ISO21188 : 2006 (public key infrastructure for financial services - practices and policy framework) ประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ ของผู้ดำเนินธุรกิจกาให้บริการทางการเงินแบบออนไลน์ โดยช่วยแก้ไขการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ด้วยระบบความปลอดภัยที่มีความเที่ยงตรง และสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ และสามารถส่งผ่านข้อมูลที่เป็นความลับระหว่างผู้เกี่ยวข้องได้อย่างปลอดภัย สาระสำคัญของมาตรฐาน คือ การกำหนดโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับการให้บริการด้านการเงินแก่ลูกค้า และการกำหนดกรอบนโยบายของการดำเนินธุรกิจ ในอุตสาหกรรมการให้บริการทางการเงินโดยระบุวัตถุประสงค์ และกำหนดคู่มือการปฏิบัติงานในการบริหารความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ
                 3.6 มาตรฐานวิศวกรรมซอฟแวร์นานาชาติ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ (software industry promotion agency : SIPA) ร่วมกับสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นเจ้าภาพจัดประชุมมาตรฐานวิศวกรรมซอฟแวร์นานาชาติ ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 15-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ เพื่อนำเสนอร่างและการพัฒนามาตรฐานด้านวิศวกรรมซอฟแวร์ ให้กับผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทั่วโลก ซึ่งมาตรฐานที่จัดทำขึ้นใหม่นี้มุ่งหวังให้ผู้ประกอบการขนาดย่อมใช้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งในกลุ่มประเทศที่เป็นผู้นำหรือผู้ผลิตต่างยังพบอุปสรรคในด้านนี้ สำหรับประเทศไทยได้เป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งรับผิดชอบการยกร่างมาตรฐาน ISO สำหรับอุตสาหกรรมพัฒนาซอฟแวร์ขนาดย่อม (international standard of software engineering
for very small enterprise ; ISO/VSE) โดยประสานความร่วมมือกับประเทศสมาชิกหลักของกลุ่ม ได้แก่ ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย และฟินแลนด์ เป็นต้น สำหรับการสนับสนุนผู้ประกอบการในเรื่องนี้ ภาครัฐได้ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 13 ล้านบาท และคาดว่าจะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ล้านบาทภายในระยะเวลา 2 ปี


4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาประเทศ
              เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาการอย่างไม่หยุดยั้ง ประเทศที่พัฒนาจึงให้ความสำคัญต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาให้ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ส่งผลต่อการบริหารประเทศด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข และด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ดังนี้
            4.1 ด้านเศรษฐกิจ ในแวดวงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานการเงิน การธนาคาร มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานหลักของธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ เช่น การฝากถอนเพื่อทำรายการด้านการเงินของธนาคาร มีระบบการทำรายการที่เชื่อมโยงถึงกันระหว่างสาขาย่อยของแต่ละธนาคาร มีการนำตู้ทำรายการ (automatic teller machine ; ATM) ติดตั้งเพื่อให้บริการลูกค้าย่อยของแต่ละธนาคารตามแหล่งชุมชนต่าง ๆ มากมายรวมถึงการขยายสาขาการรับฝากถอนเงินไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากยิ่งขึ้น ในวงการตลาดหลักทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยวิเคราะห์และแนะนำการลงทุน การตรวจสอบข้อมูลกับตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกได้แบบทันทีทันใด (real time) รวมถึงการส่งรายการคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับนักลงทุนที่สะดวก และง่ายดายมากยิ่งขึ้น
            4.2 ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ และทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี มีการเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมให้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน มีการมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ผู้ต้องขัง รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเหลือคนตาบอด เพื่อให้สามารถอ่านหนังสือได้ เช่น หนังสือเสียงระบบไดซี่ (digital accessible information system ; DAISY) ที่มีการบันทึกข้อมูลของหนังสือเป็นระบบเสียงในแบบดิจิตอล ช่วยให้คนตาบอดสามารถค้นหาข้อมูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็วและละเอียด สามารถก้าวกระโดดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือได้ เช่น ตอน บท ย่อหน้า ประโยคหรือคำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนช่วยลดช่องว่างระหว่างกลุ่มคนในสังคมได้เป็นอย่างดี
            4.3 ด้านการศึกษา ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามาช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เช่น การถ่ายทอดสัญญาณรายการสอนผ่านเครือข่ายดาวเทียม สำหรับนักเรียนในถิ่นทุรกันดารของกรมการศึกษานอกโรงเรียน การให้บริการการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การเรียนผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต รวมถึงการเปิดหลักสูตรเพื่อสอนในระดับอุดมศึกษาบางสาขาให้นักศึกษาที่อยู่ห่างไกลได้เข้ามาเรียน โดยทำการศึกษา ทบทวน และทดสอบด้วยตนเองผ่านระบบของมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีบทบาทในการส่งเสริมแลกเปลี่ยนความรู้ทางการศึกษา เพื่อพัฒนาประเทศมากขึ้น เห็นได้จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค (NECTEC) ได้เปิดเครือข่ายเพื่อการศึกษาต่าง ๆ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ซึ่งเครือข่ายที่รู้จักกันดี ได้แก่ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยสาร เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย และเครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษก
            4.4 ด้านสาธารณสุข มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สนับสนุนแลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษาผู้ป่วยที่เรียกว่า โครงการการแพทย์ทางไกล (telemedicine) ซึ่งเป็นการนำความก้าวหน้าด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์ โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณผ่านดาวเทียมหรือใยแก้วนำแสง ควบคู่กับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์ต้นทางกับแพทย์ปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ ทั้งด้านภาพ เช่น ฟิล์มเอกซเรย์ และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น การเต้นของหัวใจ คลื่นหัวใจ พร้อมกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปรึกษา เสมือนอยู่ห้องเดียวกับคนไข้ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาคนไข้ได้ดียิ่งขึ้น ลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในถิ่นทุรกันดาร นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์การแพทย์ทางไกลมาใช้ในการถ่ายทอดการเรียนการสอน และการประชุมวิชาการแพทย์ ให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญได้อีกด้วย
            4.5 ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (geographic information system) หรือระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศ และการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้ก้าวหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสม
วีดีโอ ติดคุกง่าย ๆ ถ้าไม่รู้งกฎหมาย ICT
                                  
5. จริยธรรมและกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเท  ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่ายการใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคม
5.2 กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย  ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบางประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต ก็ยังไม่สามารถควบคุมภัยล่อลวงต่าง ๆ จากสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเด็ดขาดเต็มที่โดยเฉพาะควบคุมดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นก็ยังเป็นปัญหาโดยเฉพาะการเผยแพร่สื่อสารลามกหรือบ่อนการพนันซึ่งปัญหาดังกล่าว นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล การก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน ยังอาจจะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอีกด้วย อีกทั้งลักษณะพิเศษของข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นใยแมงมุม  ซึ่งระบบกระจายความรับผิดชอบไม่มีศูนย์กลางของระบบ และเป็นเครือข่ายข้อมูลระดับโลกยากต่อการควบคุม และเป็นสื่อที่ไม่มีตัวตน หรือแหล่งที่มาที่ชัดเจน ทั้งผู้ส่งข้อมูล หรือผู้รับข้อมูล ดังนั้น กฎหมายที่จะมากำกับดูแล หรือควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต จะต้องเป็นกฎหมายลักษณะพิเศษ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  แต่ความแตกต่างในระบบการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในแต่ละประเทศยังเป็นปัญหาอุปสรรค  ในการร่างกฎหมายดังกล่าวซึ่งปัจจุบันยังไม่ปรากฏผลเป็นกฎหมายยังคงอยู่ในระยะที่กำลังสร้างกฎเกณฑ์กติกาขึ้นมากำกับบริการอินเทอร์เน็ต กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเรียก (กทสช) ได้ทำการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ ได้แก่ (1) กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางเล็กทรอนิกส์ (electronic transactions law) เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (2) กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronic signatures law) เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (3) กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (national information infrastructure law) เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้ (4) กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (data protection law) เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ (5) กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (computer crime law) เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม และ (6) กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic funds transfer law)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น